
1.เผลอเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เพราะการเปรียบเทียบ จะเป็นการสร้างความรู้สึกด้อย
ให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูกๆ ซึ่งเป็นอั น ตรา ยต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
ของเด็กอย่างมาก ถึงแม้การพูดในลักษณะนี้ จะเป็นการ
ที่อย ากจะให้ลูก ได้พย าย ามปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
แต่ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า และมองว่าไม่เก่งเท่าคนอื่นๆ
อาจจะเลิกพย าย ามทำ หรือยอมแพ้ หรืออีกมุมหนึ่งคือ
เด็กอาจเกิดความคิดหาทางกลั่นแกล้ง ทำลายคู่แข่งคนอื่นๆได้
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรเข้าใจว่า พื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้น
ตลอดจนความสามารถนั้น แตกต่างกัน ควรจะมองและชื่นชมลูก
ในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ และถนัดมากกว่าการใช้คำพูด
เพื่อทำลายความรู้สึกของลูกๆ ด้วยการเปรียบเทียบ
หรือเพื่อต้องการให้ลูกเก่งกว่าเด็กคนอื่นๆในทุกด้าน
2.เผลอบอกว่า“ไม่รัก”แล้ว
จริงๆแล้ว ไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน ที่ไม่รักลูก แต่ก็ไม่ควรนำความรัก
มาใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองกับลูก ซึ่งการพูดไม่รักบ่อยๆ เป็นการบั่นทอน
ความมั่นคงทางอารมณ์ และจิตใจของลูกอย่างมาก พ่อแม่บางคน
อาจบอกว่าไม่รัก เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่หารู้ไม่ว่า วิธีนี้อาจทำให้เด็ก
รู้สึกคิดจริงจังก็ได้ ว่าพ่อแม่ไม่รักจริงๆ และรู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด
อาจจะไม่ทำตามในสิ่งที่พ่อแม่บอกแล้ว เพราะไม่มีประโยชน์อะไร
ที่เขาจะทำดีหรือเชื่อฟังเมื่อพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่
สำหรับเด็กมาก ดังนั้นหากคุณจะตำหนิลูก ที่มีพฤติกรร มที่ไม่เหมาะสม
ควรว่ากล่าวด้วยเหตุผล มากกว่าการบอกว่า
“ถ้าทำตัวแบบนี้พ่อแม่ไม่รักนะ”ดีกว่าค่ะ
3.เผลอเพิกเฉยไม่สนใจ
การแสดงความไม่สนใจต่อลูกนั้น ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ ตั้งใจแสดงออก
ให้ลูกเห็น ว่าการเรียกร้องแสดงความสนใจ เพื่อที่จะให้พ่อแม่ตามใจ
เช่น การร้องไห้ชักดิ้นชักงอ หรือการเดินหนีออกจากพ่อแม่นั้นไม่ได้ผล
วิธีนี้ถือเป็นการช่วยฝึกวินัยของลูกให้เรียนรู้ ว่าพฤติกรร มแบบนี้
ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ได้ และลูกก็จะไม่ทำอีก
แต่กลับกัน หากพ่อแม่เอาแต่สนใจอย่างอื่น โดยที่ไม่สนใจลูก
เพิกเฉยต่อการที่ลูกจะเข้ามาเล่นด้วย หรืออวดสิ่งของที่ลูกได้ทำเอง
ถือเป็นการทำร้า ยต่อจิตใจลูกมากนะคะ
4.เผลอต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่นการดุด่าว่ากล่าวลูกต่อหน้าคนอื่น
ถือเป็นการทำร้า ยจิตใจลูกอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ ต้องคิดเสมอว่า
เด็กๆก็มีความรู้สึกอาย และเสียหน้าเป็นดังนั้น หากลูกมีพฤติกร รม
ที่ไม่เหมาะสมควรค่อยๆพูด กับลูกในระดับที่เสมอกัน
ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และเป็นมิตรซึ่งไม่ควรเผลอ
ที่จะตะคอกหรือโดยวายลูกต่อหน้าคนอื่น หรือที่สาธารณะนะคะ
5.เผลอข่มขู่หรือทำให้กลัว
เด็กๆมักจะกลัวเสียงดุ จากคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว เนื่องจากลูก
ยังไม่สามารถเข้าใจ ในเรื่องต่างๆได้ดีเกือบทั้งหมด
การเรียนรู้ครั้งแรก หรือการทำผิดพลาด อาจทำให้ลูก
เกิดความไม่กล้าในครั้งต่อไป หากพ่อแม่ใช้วิธีการขู่มาเป็นข้อห้าม
หรือหลอกเพื่อไม่ให้ลูกได้ทำ สิ่งต่างๆเช่น
“ออกไปนอกบ้านระวังตำรวจจับนะ” หรือ“ถ้าซนมากๆเดี๋ยวตุ๊กแกกินตับนะ”
การขู่ในลักษณะแบบนี้ หากทำบ่อยๆลูกจะซึบซับ และจะกลายเป็นการกลัวฝังใจ
กลัวแม้กระทั่งเรื่องนิดๆหน่อยๆ ทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้กลัว ซึ่งความกลัวเหล่านี้
จะเป็นสาเหตุให้เด็กเก็บไปฝัน และนอนผวา
ในตอนกลางคืนได้ ถือเป็นการบั่นทอนสุขภาพของเด็กอย่างมาก
สำหรับเด็กแล้วเรื่องของจิตใจ กับความรู้สึกถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญไม่น้อย
กว่าการเอาใจ ใส่ดูแลสุขภาพร่างกาย เพราะสองอย่างนี้จะเติบโต คู่ไปกับลูก
ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรเผลอกระทำสิ่งเหล่านี้ลงไป ให้ลูกรู้สึกแย่หรือไม่ดี
เพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี มีจิตใจมั่นคง
และร่างกายที่แข็งแรงในอนาคตนะคะ
ขอขอบคุณ th.theasianparent