
น้อยคนนักที่จะเกิดมาบนโลกนี้แล้ว ไม่เคยถูกใครอิจฉาเลย การถูกอิจฉาริษย า
จากคนในที่ทำงาน โรงเรียนมหาวิทย าลัย มักเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งถ้าหากคุณโชคดีพอ
คนที่อิจฉาคุณก็จะไม่สามารถทำอะไรคุณได้ ทำได้เพียงแค่แอบมองคุณ
จากมุมมืด พร้อมส่งสายตาอิจฉามายังคุณเท่านั้น แต่ถ้าคุณโชคร้า ย
คุณก็อาจโดนคนประเภทนี้ ออกมาเล่นงานคุณจังๆ จนเจ็บหนัก
เสื่อมเสียชื่อเสียง ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ไม่แน่ว่าความร้า ยกาจของคน
ที่อิจฉาคุณอยู่นั้น อาจถูกสยบลงได้ หากคุณมีวิธีจัดการที่ดี
กับปัญหาดังกล่าวซึ่งวิธีจัดการ จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย
1.หยิบยื่นความเป็นมิตร
แม้ว่าคุณอาจได้ยิน หรือพอจะรู้สึกได้ว่า มีคนบางคน แอบอิจฉาคุณอยู่
แต่การเดินหน้าเข้าไปลุย หรือเข้าไปจัดการกับคู่กรณี อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก
หากทำได้ลองมีน้ำใจ ทำสิ่งดีๆกับเขาคนนั้นก่อนจะดีกว่า เช่นพูดกับเขาดีๆ
หรือมีขนมก็แบ่งกันการลองทำสิ่งดีๆ แก่กันอาจช่วยเปิด โอกาสให้คุณ
และเขาคนนั้นได้รู้จักกันดียิ่งขึ้น และทำให้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีได้ค่ะ
แต่ถ้าหากลองทำแล้ว ยังไม่เป็นผล ก็อย่านำเรื่องนี้ มาเก็บเป็นอารมณ์ให้กังวลใจไปเลย
เพราะคนเราก็มีได้หลายมุมหลายความรู้สึก เราไม่อาจทำให้ทุกคนรู้สึกดี กับเราได้ทั้งหมด
หรือถ้าสบโอกาส ลองสังเกตดูก็ได้ว่า เขาคนนั้นทำนิสัยเดียวกัน กับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆหรือไม่
ถ้าทำก็เป็นไปได้ว่า นั่นคือตัวตนของเขา และไม่ได้มีแต่คุณที่เจอเขาอิจฉาใส่
2.กระตุ้นให้มีการทำงานเป็นทีม
เพราะการทำงานเป็นทีมจะสำเร็จได้ ทุกคนต้องหันมาร่วมมือกัน
ซึ่งการทำเช่นนั้น ก็อาจทำให้คุณ และคนที่อิจฉาคุณได้มีโอกาส
ศึกษานิสัยใจคอกันมากขึ้นกว่าเดิม เข้าใจกันมากกว่าเดิมนำไปสู่การ
เลิกอคติหรือมองกันในแง่ร้ ายได้
3.มุ่งมั่นในหน้าที่ของตัวเอง
การเปลี่ยนจุดหมาย ในการทำงาน แทนที่จะพัฒนางานของตนเองให้ดีขึ้นไป
หาคนที่อิจฉา หรือจ้องจะทำไม่ดีกับคุณอยู่ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ คุณควรเอาเวลา
ในออฟฟิศไปมุ่งมั่นพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ศึกษาความต้องการขององค์กร
เป้าหมายของหัวหน้างานฯลฯ แล้วปรับปรุงการทำงานของตนเอง ให้เป็นไปในทิศทางนั้นๆ
เพื่อที่ว่าอย่างน้อย เพื่อนร่วมงานคนนั้น ก็จะได้ไม่สามารถ ทำลายหรือพูดถึงคุณ
ในแง่ไม่ดีได้นั่นเอง
4.เข้มแข็งเข้าไว้
บางคนกว่าจะทราบว่า มีคนอิจฉาหรือลอบใส่ความ ก็มาสังเกตได้
เมื่อสายไปเสียแล้ว เช่นเพื่อนร่วมงานทั้งออฟฟิศ ต่างได้รับข้อมูลเท็จ
เกี่ยวกับตัวคุณจากคนๆนั้น และไม่มีใครอย ากคบหาสมาคมกับคุณอีก
ถ้าเป็นเช่นนี้ขอให้เข้มแข็งเข้าไว้ ยืด อ กเชิดหน้าให้มั่น
(จะแอบร้องไห้ก็ได้ถ้าร้องเสร็จแล้วตาไม่แดง) เพราะถ้าคุณไปแอบร้องไห้
หรือทำตาแดงๆก็เท่ากับเข้าล็อก ตามที่เขาต้องการ แล้วเขาก็จะจัด
“ปฏิบัติการลอบเมาท์”ตามมาอีกชุดใหญ่
5.สร้างความน่าเชื่อถือในหมู่เพื่อนร่วมงาน
ไ่ม่มีอะไรสามารถสร้างแรงหนุนให้กับคุณ และผลักคำกล่าวหาร้ ายๆออกไปได้เร็ว
เท่ากับการได้รับการยอมรับ จากคนรอบข้าง หากคุณได้รับการยอมรับจากทีม
หรือคนอื่นๆ ที่มีความเชื่อมั่นในตัวของคุณ พวกเขาจะไม่สนใจคำว่าร้า ยนินทา
จากคนที่อิจฉาคุณ แต่ประการใด และจะทำให้คนที่อิจฉาคุณอยู่นั้น
ต้องยอมจากไปแต่โดยดี
6.กันไว้ดีกว่าแก้
การป้องกันการเกิดความอิจฉาในหมู่เพื่อนร่วมงาน อาจทำได้หลายแบบเช่น
การกล่าวชื่นชมทุกๆคน ที่มีส่วนต่อความสำเร็จ ในงาน (เพื่อนร่วมงานบางคน
อาจหาความมีส่วนร่วม ไม่เจอแต่ก็ขอให้พย าย าม นึกให้ออก)
แม้จะเล็กน้อย. แต่การกล่าวชมออกไปเผื่อแผ่ความดี ความชอบออกไป
จะทำให้คุณไม่ตกเป็นเป้า จากคนขี้อิจฉาเหล่านั้นอีก ทั้งยังทำให้
คนที่ได้รับคำชมหรือการพูดถึง
จากคุณไม่รู้สึกอิจฉาคุณด้วย
7.หากปัญหารุนแรงเข้าพบหัวหน้าย่อมดีที่สุด
ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องเข้าไปร้องไห้ฟูมฟาย ขณะเล่าให้ผู้จัดการ
หรือหัวหน้าของคุณฟัง เพราะมันจะดูเหมือนเด็ก ถูกเพื่อนแกล้ง
แล้วเข้าไปฟ้องครู ถ้าจะเข้าพบหัวหน้า เพื่อแจ้งถึงปัญหาดังกล่าว
ให้รับรู้การวางตัวให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น เอ่ยถึงปัญหา
และความวิตกกังวลของคุณ ขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัว
กับปัญหาดังกล่าวเรียกว่าทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่สุด
เท่าที่จะทำได้ดีกว่า
8.ไม่ว่าอย่างไรเป็นคนน่ารักไว้ก่อน
แม้ว่าจะมีคนทำไม่ดีกับคุณ อย่างมาก แต่ถ้าคุณอดทนกับมัน และใจดีพอ
ที่จะไม่ถือสาหาความกับเรื่องไร้สระเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป
ความรู้สึกอิจฉานั้น ก็จะถูกแทนที่ด้วยความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้นั่นเอง
แต่ถ้าวันใดตัวคุณเอง กลายเป็นฝ่ายอิจฉา คนอื่นบ้าง
ก็จัดการกับความรู้สึก ของตัวเองก่อน ที่จะไปทำร้ ายใครดีกว่านะคะ
ขอบคุณ ASTV ผู้จัดการออนไลน์